วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ปาล์มน้ำมันทุ่งรังสิต ความมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน 2553

ปาล์มน้ำมันทุ่งรังสิต
 ความมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน 2553

 สภาพร่องสวนส้มเก่าที่ไม่สามารถปลูกส้มได้แล้ว
นำมาปลูกปาล์มน้ำมันที่ ตำบลซำอ้อ ปทุมธานี
 ให้ผลผลิตประมาณ 6 ตัน ต่อไร่ ต่อปี
ยกร่องให้สูงขึ้นประมาณ1เมตร ป้องกันรากเน่า เพราะบริเวณนี้
น้ำขังจำนวนมาก ในร่องสวนเลี้ยงปลานิล ประตะเพียน ปลาดุก จำนวนมาก

                                                          สวนปาล์มน้ำมันทุ่งรังสิต


 การรับน้ำ รับแดด และการเจริญเติบโต ที่ดีมาก
 ทะลายปาล์มได้ผลผลิตมากกว่า 12 ทะลายต่อปี
                                                          การจัดการสวนปาล์มน้ำมัน


                                                                    ต้นปาล์มน้ำมัน
ชาวสวนมาร่วมฟังการสัมมนา
ดร.ไพบูลย์ ซำศิริพงษ์ สว.ปทุมธานี สนทนากับเกษตรกร
                                                        ชมรมสวนปาล์มน้ำมันทุ่งรังสิต
                                                                      ดร.ทินโน ขวัญดี


                                               ดร.ไพบูล ซำศิริพงษ์   ดร.ทินโน ขวัญดี


                                            แสดงความคิดเห็นโดยเกษตรกร มนัส พุทธรัตน์
                                       ดร.กนก คณิการ   ดร.ไพบูล ซำศิริพงษ์  อักษร น้อยสว่าง
                                          สว.ไพบูลย์ ซำศิริพงษ์  ดร.ทินโน ขวัญดี ที่หนองเสือ
                                                                 นายอักษร น้อยสว่าง
                                                 สว.ไพบูลย์ กับ เกษตรอำเภอหนองเสือ
                                                                         สัมพันธ์ภาพ


                                                            ชาวสวนปาล์มน้ำมันซำอ้อ


ชาวสวนปาล์มน้ำมันซำอ้อ

 
                                                            ชาวสวนปาล์มน้ำมันซำอ้อ


 คุยกันเรื่องปาล์ม
 ส่งเสริม และสนับสนุน จาก สว.ปทุมธานี
 กระทรวงเกษตร ฯ    และนักวิชาการ
 กระชับความสัมพันธ์ นักวิชาการ นักการเมือง
 และเกษตรกรสวนปาล์มทุ่งรังสิต
 นายอักษร น้อยสว่าง เจ้าของสวนปาล์ม (เสื้อลาย)
ดร.ทินโน ขวัญดี(เสื้อขาว)อนุกรรมาธิการฯวุฒิสภา
ดร.ไพบูลย์ ซำศิริพงษ์ สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดปทุมธานี (สูทดำ)
ดร.ทินโน ขวัญดี (เสื้อขาว)อนุกรรมาธิการฯวุฒิสภา ลงพื้นที่ สวนปาล์มทุ่งรังสิต
เพื่อสนับสนุนเกษตรกรทำการเกษตรที่ยั่งยืน


วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สถานการณ์และสภาพการณ์เกษตรกรในเขตพื้นที่การเกษตรทุ่งรังสิต

สถานการณ์และสภาพการณ์เกษตรกรในเขตพื้นที่การเกษตรทุ่งรังสิต
(จากการลงพื้นที่ ระหว่าง พ.ศ.2551-2553)


บทนำ
สภาพทางภูมิศาสตร์ทุ่งรังสิตเป็นพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง น้ำขังบางส่วนของพื้นที่ พื้นดินเป็นอินทรียวัตถุ ที่มาจากการไหล และท่วมของแม่น้ำหลายสายทับถมกันหลายชั้น และมีพื้นชั้นดินเหนียวเหลว และบางส่วนของพื้นที่มีสภาพดินเปรี้ยว ในบริเวณภาคกลางของไทย เช่นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำนครนายก และแม่น้ำนครไชยศรี เป็นต้น
ทุ่งรังสิต ประกอบด้วยเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี อยุธยา นครนายก และสระบุรี มีพื้นที่ราบขนาดใหญ่ อาชีพหลักคือการทำนาข้าว ซึ่งปลูกได้ประมาณ3 ครั้งต่อปี การทำพืชสวนอื่นๆ และการทำสวนส้ม ในการทำสวนส้มนั้น เกษตรกรจะต้องยกคันดิน (ยกร่องสวน) ให้สูงกว่าระดับน้ำเพื่อไม่ให้รากส้มจม และแช่น้ำ ร่องสวน มีขนาดความสูงประมาณ 1.5-2.0 เมตร และกว้างประมาณ1.5-2.0 เมตร เช่นกัน ความห่างของคันสวนประมาณ 7.0-8.0 เมตร บริเวณโดยรอบของคันสวน มีน้ำขังตลอดทั้งปี ในคันสวน เกษตรกรเลี้ยงปลาดุก ปลานิล ปลาตะเพียน หรือปลาอื่นๆ ตามความสนใจและ ตามตลาดต้องการ
สำหรับปลาบางชนิดที่เกษตรกรปล่อยลงไปในคันสวนและเลี้ยงไว้นั้น เหตุผลหลักมิใช่เพื่อนำมาเป็นอาหารและขายเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ในการกำจัดวัชพืช และหญ้าที่เกิดในร่องสวนอีกด้วย เกษตรกรจึงนิยมเลี้ยงปลานิลและปลาตะเพียนซึ่งเป็นปลาที่เกินพืชเป็นอาหารลงไปในร่องสวนประกอบกับปลาทั้งสองชนิดนี้ราคาดี เป็นที่นิยมและเลี้ยงง่าย ทนทานต่อสภาพสิ่งแวดล้อมได้ดี
สวนส้มทุ่งรังสิต มีที่มาจากการที่สวนส้มบางมด ส้มบางมดซึ่งหมดสภาพจากการปลูกมานานและเกิดโรคระบาดทำให้เกิดความเสียหาย ประกอบกับราคาที่ดินในบริเวณพื้นที่บางมด ได้ปรับเปลี่ยนไปเป็นที่ดินเชิงพานิชและอุตสาหกรรม ทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้นไม่สอดคล้องและเหมาะสมในการทำเกษตร ที่ต้องลงทุนค่าที่ดินราคาสูง เกษตรกรจึงขายที่ดินและหาที่ปลูกส้มแหล่งใหม่แทน
ทุ่งรังสิตคือเป้าหมายในการปลูกส้มจากการเคลื่อนย้ายของเกษตรชาวสวนบางมด และเกษตรกรท้องถิ่น ที่เดิมทำนาข้าวและสวนส้มโอ เมื่อสวนส้มให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าจึงปรับเปลี่ยนอาชีพมาทำสวนส้มกันมากขึ้น จนครั้งหนึ่งส้มที่ขายในท้องตลาดเกือบ90เปอร์เซ็นต์ เป็นส้มจากสวนส้มรังสิต จนเรียกติดปากอีกชื่อว่าส้มรังสิต
เหตุการณ์เหมือนเดิมการปลูกส้มในที่ดินเดิมเป็นระยะเวลานานทำให้เกิดโรคระบาดเกษตรกรขาดทุนอีกครั้งเกษตรกรบางส่วนหนีไปทำสวนส้มที่บริเวณจังหวัดกำแพงเพชร เพชรบูรณ์ และจังหวัดตากและปัจจุบันสวนส้มในที่แหล่งใหม่ก็เกิดปัญหาอีกเช่นเคย ย้ายอีกครั้งชายแดนพม่าคือเป้าหมาย ทุกวันนี้ร้อยละหกสิบถึงเจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์ของส้มที่ขายในประเทศไทยเป็นส้มสัญชาติพม่าผ่านชายแดนและฝีมือคนใส่ โสร่ง มาทั้งนั้น
                ท้องทุ่งรังสิต สวนส้มรังสิต ถูกทิ้งร้าง เกษตรกรหน้าดำ คร่ำเครียด หนี้สินผูกพัน โฉนดอยู่ในมือธนาคาร ลูกหลานต้องใช้เงินในการศึกษา เพื่ออนาคตของครอบครัว เพื่ออนาคตของชาติ เงินขาด อาชีพหาย อนาคตมืดมน ไม่รู้จะทำอะไร ไม่รู้หาเงินจากไหน ไม่รู้หาใครมาช่วย มาต่อลมหายใจให้เกษตรกร เกษตรกรที่ถูกยกย่องว่าสันหลังของชาติ นี่คือเสียงเพรียกร้องของสันหลังของชาติ คนชาวสวนส้ม แห่ง
ท้องทุ่งรังสิต
ที่มาจากการสัมผัสในพื้นที่
ช่วงระหว่างปี พ.ศ.2551 ประธานอนุกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและมีส่วนร่วมภาคพลเมือง วุฒิสภา ดร.ไพบูรณ์ ซำศิริพงษ์ วุฒิสมาชิกจากการเลือกตั้งจังหวัดปทุมธานี  นายวรินทร์ เทียมจำรัส วุฒิสมาชิกจากการสรรหา รองประธานฯ และคณะอนุกรรมาธิการฯ ได้รับหนังสือร้องเรียนจากเกษตรกรทุ่งรังสิตให้ดำเนินการบรรเทาทุกข์ให้กับเกษตรกรสวนส้มทุ่งรังสิตที่ประสบปัญหาเดือดร้อนจากสวนส้มล่ม เกิดภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่สามารถทำกินได้อีกต่อไป และเรียกร้องให้ภาครัฐส่งเสริม สนับสนุนให้ปลูกปาล์มน้ำมัน (Palm Oil Tree)ในพื้นที่สวนส้มร้างดังกล่าวซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 200,000-300,000 ไร่ เกษตรกรเกือบ 1,000 ราย โดยมีหนี้สินที่คงค้างอยู่ในระบบธนาคารและนอกระบบบางส่วน ประมาณ 1.,000 ล้านบาท
ธนาคารที่เกษตรกรเป็นหนี้สินมากที่สุดคือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (Bang for Agriculture and Agricultural Co-operatives) ที่ซึ่งเป็นองค์กรภาครัฐ และธนาคารพานิชบางส่วน ประธานอนุกรรมาธิการฯได้รับทราบปัญหาและความเดือดร้อนของประชาชนจึงได้ดำเนินการจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาคณะหนึ่งเรียกว่าคณะทำงานเพื่อการแก้ปัญหาวิกฤตการเกษตรพื้นที่ทุ่งรังสิตมีบทบาทหน้าที่ในการรวบรวม ข้อมูลและปัญหาในการนำเสนอแนะเพื่อการแก้ปัญหาดังกล่าว ประกอบด้วยบุคคลหลายฝ่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ ทำงานร่วมกัน พร้อมทั้งจัดกิจกรรมศึกษาดูงานเพื่อให้เข้าใจปัญหา และความลึกซึ้งต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ปัญหาที่พบและเป็นจริงจากเกษตรกร
1.ภาระหนี้สินเกษตรกรที่พบโดยรวมประมาณ1,000ราย ยอดเงินรวมทั้งสิ้นประมาณ1,000ล้านบาท 90  เปอร์เซ็นต์มาจากการกู้ยืมธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
2.เกษตรกรส่วนใหญ่ค้างการชำระเพราะไม่สามารถชำระดอกเบี้ยได้ ด้วยไม่มีงานและอาชีพอื่นที่สามารถสร้างรายได้เพื่อมาชดเชย และจ่ายดอกเบี้ยให้กับธนาคารได้
3.เกษตรกรเกิดความวิตกกลัวถูกยึดโฉนดที่ดินทำกิน
4.เกษตรกรไม่สามารถหาทุนใหม่มาลงทุนได้ จึงไม่สามารถสร้างงานและอาชีพใหม่ได้
5.เกษตรกรดิ้นรนเพื่อให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือผ่านรัฐบาลหลายรัฐบาลแต่ไม่เป็นผล โดยเกษตรกรต้องการให้รัฐบาลแต่ละยุคประกาศพื้นที่ทุ่งรังสิตเป็นเขตภัยวิบัติโดยหวังว่าจะได้รับเงินชดเชยและรัฐเข้ามาช่วยเหลือเหมือนกับพื้นที่เขตอื่นๆที่ได้รับภัยวิบัติ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ
6.การประกาศเขตพื้นที่สีเขียวจังหวัดปทุมธานี (พื้นที่การเกษตร) เช่นอำเภอหนองเสือ ทำให้เกษตรกรฝั่งตะวันออกของถนน วิภาวดี-รังสิต มีราคาค่าที่ดินถูกกว่าฝั่งตะวันตก เช่น อำเภอคลองหลวง (นิคมอุตสาหกรรมนวนคร) ที่มีราคาค่าที่ดินสูงกว่ามาก
7.ภาครัฐโดยเฉพาะกระทรวงเกษตรและสหกรณ์(ข้าราชการระดับสูง)ยังมีความคิดในการทำการเกษตรในพื้นที่ทุ่งรังสิตนี้ที่ต้องทำการเกษตรที่ต้องทำนา และพืชสวนทำอย่างอื่นไม่ได้ ไม่ดี ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหาร และส่งผลกระทบต่อการผลิตข้าว
8.ชาวบ้านเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอดแต่วิธีคิดของข้าราชการระดับสูงของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังไม่เปลี่ยน ยึดติดอยู่กับการทำนา และสวน โดยเกรงว่าการทำสวนปาล์ม (Palm Oil Plantation) จะส่งผลให้การผลิตข้าวน้อยลง โดยให้เหตุผลในการอธิบายสิ่งนี้ว่าสภาพพื้นที่ทุ่งรังสิตไม่เหมาะสมในการปลูกปาล์มน้ำมัน ปลูกได้แต่ผลผลิตจะไม่ดี ไม่คุ้มค่า
9.ชาวบ้าน เกษตรกร (นายอักษร น้อยสว่าง อดีตนายกเทศมนตรีอำเภอหนองเสือ นายสถิต คำรักษ์ และนายมนัส พุทธรัตน์ ฯลฯ แกนนำเกษตรกร)ไม่สามารถรอเวลา จึงทดลองปลูกปาล์มน้ำมันด้วยตนเอง ลองผิด ลองถูก อาศัยภูมิปัญญาและความสามารถที่มีอยู่ ปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อหนีตาย แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ปัจจุบันปลูกไปแล้วทั้งหมด ประมาณ 30,000 ไร่ สามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว ประมาณ 12,000ไร่ และอยู่ระหว่างรอให้โตเพื่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตอีก ประมาณ 18,000 ไร่
10.ผลผลิตปาล์มน้ำมันที่ทุ่งรังสิต (สวนนายอักษร น้อยสว่าง ต.ซำอ้อ อ.หนองเสือ  นายมนัส พุทธรัตน์ ต.บึงบอน อ.หนองเสือ นายสถิต คำรักษ์ กรรมการชมรมปาล์มน้ำมันทุ่งรังสิต นายพินิจ สระบุรินทร์ เกษตรอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี) ประเมินการให้ผลผลิตของปาล์มน้ำมันที่ทุ่งรังสิต 6-7 ตัน ต่อ ไร่ ต่อ ปี (ผลผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ย จังหวัดกระบี่ 3-4 ตัน ต่อ ไร่ ต่อ ปี) แต่ต้องขนส่งเป็นระยะทางไกลในการขนปาล์มไปขาย (ผลปาล์มน้ำมันเมื่อตัดแล้วจะต้องส่งเข้าสู่กระบวนการผลิตไม่ช้ากว่า 24 ชั่วโมง ถ้าช้ากว่านั้น จะมีผลเสียเกิดขึ้น คือเกิดกรดที่ไม่พึงประสงค์ ทำให้คุณภาพน้ำมันปาล์มเสียไป) ส่วนใหญ่ไปขายในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เช่นกลุ่มบริษัท ไทยอีสเทอร์น (Thai Eastern Group : บจก.อีสเทอร์น  ปาล์ม ออยล์  อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี) บริษัท สุขสมบูรณ์ น้ำมันปาล์ม จำกัด (อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี) เป็นต้น ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งค่อนข้างมาก ทำให้เกิดต้นทุนในการผลิต
การหารือและหนทางในการแก้ปัญหาจากอนุกรรมาธิการฯ
โดยเชิญผู้เกี่ยวข้องเพื่อการแก้ปัญหาประชาชนเดือดร้อนร่วมกัน
1.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ : กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร
2.เกษตรอำเภอ เกษตรจังหวัด
3.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส)
4.ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SMEs Bank)
5.เกษตรกรทุ่งรังสิตผู้เดือดร้อน
6.อื่นๆ
ผลจากการหารือ
1.มอบหมายให้คณะทำงานนำเสนอวิธีการเพื่อการแก้ปัญหา
2.เป้าหมายในการแก้ปัญหาต้องเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน
ความต้องการของเกษตรกร
1.ปลดหนี้สิน
2.สร้างอาชีพใหม่ เช่นการทำสวนปาล์มน้ำมัน โดยการสนับสนุนทางการเงินเพื่อการลงทุน
3.ไม่ต้องการขายที่ดิน ไม่ต้องการให้ธนาคารยึดที่ดิน
การนำเสนอจากคณะทำงานฯ
1.รัฐสนับสนุนจัดตั้งกองทุนเพื่อการทำสวนปาล์มน้ำมัน และผลิตน้ำมันปาล์มตามแผนนโยบายพลังงานทดแทน15ปี (แผนพลังงานแห่งชาติ)วิธีการคือตัดดอกเบี้ยบางส่วนหรือทั้งหมดจากธนาคาร ยืดระยะเวลาการผ่อนส่งออกไปอีก 5 ปี นับจากการเข้ากองทุนแล้ว และสร้างกองทุนภาคประชาชนเข้ามาดูแล เพื่อให้เกษตรกรได้มีเงินทุนในการทำงานต่อไป
2.ภาคเอกชนที่มีขีดความสามารถทางด้านการเงินเข้ามาสนับสนุนโดยการทำสัญญากับเกษตรกร และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ซึ่งเป็นเจ้าหนี้  ชื้อ ผลผลิต(ผลปาล์ม) โดยธนาคารปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ และระยะเวลานาน ให้กับภาคเอกชนเป็นผู้รับภาระของเกษตรกรแทน และนำพาเกษตรกรทำการผลิตปาล์มน้ำมัน รับซื้อในราคาตลาด ปลดหนี้สินกับธนาคาร และที่ดินตกเป็นของเกษตรกรตามอายุสัญญา
3.เชิญชวนภาคเอกชนเข้ามาทำสัญญาเช่าที่ดินบางส่วนของเกษตรกรโดยรัฐ(ธกส)ปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ และมีระยะเวลานาน  โดยการเอาเงินค่าเช่านั้นมาหักออกจากหนี้ของเกษตรกร เมื่อหมดสัญญาที่ดินตกเป็นของเกษตรกร
บทสรุป
เกษตรกรต้องกรปลดหนี้ ไม่ต้องการขายที่ดิน ต้องการสร้างอาชีพใหม่ โดยการทำสวนปาล์มน้ำมัน ภาครัฐ(กระทรวงเกษตรฯ)ยังไม่เข้าใจปัญหา และยังไม่สนใจเข้าไปแก้ปัญหาวิกฤติอย่างทันการณ์ ธนาคาร ธกส.ยังขาดการผลักดันและสรรสร้างนวัตกรรมเพื่อประโยชน์ของเกษตรกรอย่างแท้จริง ภาคเอกชนสนใจในการทำธุรกิจเชิงธรรมาภิบาลแต่ต้องได้รับการสนับสนุนบางเงื่อนไขจากภาครัฐ และ ธกส. และภาคประชาชนจะต้องสร้างสมรรถนะ ความสามารถในการบริหาร จัดการ และวิชาการที่สูงขึ้น 
การดิ้นรนที่รอคอย ชมรมเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันทุ่งรังสิตฯไ ด้จัดทำหนังสือเพื่อขอรับการสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  และขณะนี้หนังเสือฉบับนี้ถูกส่งไปที่กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อการพิจารณาและหาแนวทางในการดำเนินการต่อไป ชาวเกษตรกรจึงต้องรอ และรอต่อไป รอวันที่มีนโยบาย และการปฏิบัติการการฟื้นฟูอย่างเป็นรูปธรรม
ความมีส่วนร่วมในการพัฒนาบ้านเมืองอาจจะมาจากภาครัฐเพียงอย่างเดียวเหมือนในอดีต หรืออาจจะมีแนวทางในการนำพาภาคเอกชนผู้มีศักยภาพ และมีเจตนาที่ดี ในการบริหารธุรกิจเชิงธรรมาภิบาล ร่วมมือกับภาครัฐ หรือความร่วมมือกับรัฐต่างประเทศ หรือเอกชนต่างประเทศบนพื้นฐานความร่วมมือที่เป็นธรรม อย่างมีหุ้นส่วน และเป็นมิตร ที่มีผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศเป็นที่ตั้ง ย่อมเป็นทางเลือกที่ควรพิจารณา

                                                      ดร.ทินโน ขวัญดี
ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและมีส่วนร่วมภาคพลเมือง
                                                                                                                     29 ตุลาคม 2553
 สวนปาล์มน้ำมัน
 การตัดแต่งก้านใบ และการบำรุงรักษา
สังเกตุระยะห่างระหว่างต้น ที่มีผลต่อทางใบที่ชนกัน
ที่มีผลต่อการรับแสงแดด และการสร้างผลผลิต
 เริ่มออกลูก
 สังเกตุลูกอ่อน ลูกแก่ และการเก็บเกี่ยวที่ผลปาล์มจะต้องสุกดีพอ
มิเช่นนั้น เปอร์เซ็นต์น้ำมันจะน้อย ขายได้ราคาต่ำ
 ผลปาล์มที่เก็บเกี่ยวได้แล้ว
 แสดงให้เห็นภายในผลปาล์ม ที่ประกอบไปด้วยองค์ประกอบต่อไปนี้เปลือกนอก
1.น้ำมันที่ได้จากส่วนนี้เรียกว่า CPO "Crude Palm Oil" ผลิตภัณฑ์จากส่วนนี้เอาไปทำ น้ำมันทอดอาหาร "Cooking Oil"และ น้ำมันไบโอดีเชล "Bio Diesel"
2.กะลา อยู่ระหว่างเปลือกนอกกับเนื้อใน กะละปาล์มเอาไปทำเชื้อเพลิงแข็ง "Biomass"จะให้ความร้อนสูง หรือเอาไปทำถ่านกัมมันต์ จะดีมาก
3.เนื้อใน เหมือนเนื้อมะพร้าว น้ำมันที่ได้เรียกว่า CKPO   "Crude Kernell Palm Oil"   เอาไปทำผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องสำอาง